วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

9. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วย

           วัฒนา นัทธี  (http://www.edtechno.com/) กล่าวไว้ว่า ลักษณะโคร่งสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั้วไปแล่งออกเป็น 3 แบบ
                1. รูปแบบหลัก (domain model:dm) เป็น รูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน
                2. รูปแบบของผู้เรียน (student model:sm) เป็น การออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำ เสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล
                3. รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบ ที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผุ้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัว ( Apaptive Model:AM) เป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็บเป็นฐาน (Web-Based Intruction)

                ในการเรียนการสอนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
          1.  เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
          2.  ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ
              -  ดูแผนภาพหรือภาพวาด
              -  ดูภาพถ่าย ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
              -  ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect
          3.  ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน
          4.  ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map) ของตนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
          5.  สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
          6.  ใช้แผนที่ระบบ (system map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป

http://sirinapa005.blogspot.com/2010/08/blog-post.html   ได้กล่าวว่า
                 สื่อหมายมิติเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและเพิ่มความสามารในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ปัจจุบันสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนาโดยผสมผสานเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปอย่างรวดเร็วโดยทั่วไปนั้นส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดและเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ จนกระทั่งเกิดการค้นหาวิธีและพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ของสื่อหลายมิติ ที่เรียกว่า สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ  รูปแบบหลัก,รูปแบบผู้เรียนและรูปแบบการปรับตัว

                กล่าวโดยสรุป   รูปแบบของสื่อหลายมิติในการสอนประกอบด้วย คือ การออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตาม ความสามารถและต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบราย บุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพได้โดย 3องค์ประกอบ
                1.  รูปแบบหลัก จะให้ความสำคัญกับการออกแบบโครงสร้างของสื่อหลายมิติที่เหมาะสมกับความต้อง การและลักษณะของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสะดวกในการหาข้อมูลหรือหัวข้อที่ต้องการ โดยการออกแบบที่ดีควรจะต้องวางโครงสร้างให้มีความสมดุล มีการเชื่อมต่อสัมพันธ์กันระหว่างรายการ กับเนื้อหาอื่นๆ รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอ
                2.  รูปแบบผู้เรียน เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้เรียน แต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบสนองราย บุคคล ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของสื่อหลายมิติแบบปรับตัว โดยรูปแบบของผู้เรียนอาจแบ่งแยกคุณลักษณะของผู้เรียนออกเป็นระดับความรู้ ความรู้ความสามารถ ทั้งนี้ลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันไปจะส่งผลต่อบุคลิกภาพ การรัยรู้ การจดจำ การแก้ปัญหา ความสนใจ
                3.  รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปของผู้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัวเป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้ในสื่อ หลายมิติแบบปรับตัวได้
เอกสารอ้างอิง
(เว็บ)  [ออนไลน์] : http://mapraow061.blogspot.com/2012/08/blog-post_6323.html.เข้าถึงเมื่อ 11/09/12
(เว็บ)  [ออนไลน์] : http://yingzaaha.blogspot.com/2012/08/blog-post_8166.html.เข้าถึงเมื่อ 11/09/12
(เว็บ)  [ออนไลน์] : http://sirinapa005.blogspot.com/2010/08/blog-post.html .เข้าถึงเมื่อ 11/09/12

8. สื่อประสม

http://www.st.ac.th/av/inno_multimedia.htm  ได้กล่าวว่า
                สื่อประสมหรือสื่อหลายแบบ (Multimedia) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถผสมผสานระหว่างข้อความ ข้อมูล ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน
                สื่อประสมหรือมัลติมีเดีย หมายถึงการนำเอาสื่อหลาย ๆ อย่าง เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส มาใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน ต่อมาเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้มากขึ้น และสามารถใช้งาน ได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง ข้อความและภาพเคลื่อนไหว ทำให้ความหมายของสื่อประสมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนประกอบหลัก ที่มีใช้ทั่วไปของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจะมี CD-ROM sound card และลำโพง เพิ่มเข้ามาในคอมพิวเตอร์ หรืออาจมีส่วนประกอบที่เกี่ยวกับการใช้งานวิดีโอด้วย นอกจากนี้ยังมีความหมายรวมถึงการใช้การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องวิดีโอเทปเสียง ซีดีรอม กล้องดิจิตอล โทรทัศน์ฯลฯ ให้ทำงานร่วมกัน การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์หลาย ๆ อย่างดังกล่าวจะต้องอาศัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) และอุปกรณ์ (Hardware) ต่าง ๆ ประกอบกัน บางครั้งจึงเรียกว่าสถานีปฏิบัติการมัลติมีเดีย (Multimedia workstation)
                ไฮเปอร์มีเดีย หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย นำเสนอสารสนเทศต่าง ๆ ในรูปของ ตัวอักษร ภาพ เสียง และการเคลื่อนไหว โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยง เลือกหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการ ตลอดจนขั้นตอนการเรียนรู้ได้ตามที่กำหนด ไว้ในโปรแกรม

http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0  ได้กล่าวว่า
                สื่อประสม (multimedia theory) เป็นการนำเอาสื่อการสอนหลาย ๆ อย่าง มาสัมพันธ์กัน และ มีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างมีระบบ สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจ ในขณะที่อีกสื่อใช้อธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียน มีประสบการณ์จากประสาทสัมผัส ให้นักเรียนได้ค้นพบวิธีการ ที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น

                กิดานันท์ มลิทอง (2544, หน้า 6-7) ได้อธิบายว่า สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน ส่วน ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2533) กล่าวว่า การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้พบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น หรือมีอีกความหมายหนึ่งว่า สื่อประสม หมายถึง การนำวัสดุอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ หุ่นจำลอง หนังสือ เป็นต้น ซึ่งมีเนื้อหาสาระสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนการสอน แล้วเลือกมาประกอบกันเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในแต่ละครั้งซึ่งความหมายของสื่อประสมที่กล่าวมาข้างต้นนั้น สอดคล้องกับแนวคิดของ สมสิทธิ จิตรสถาพร (2547) ที่กล่าวเสริมว่า สื่อประสม (multimedia) หมายถึง การใช้สื่อหลายอย่างประกอบกันอย่างเป็นระบบ

                ในปัจจุบันนี้ บทบาทของไมโครคอมพิวเตอร์นับวันจะมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการดำเนินธุรกิจ การศึกษา หรืออื่น ๆ บริษัทผู้ผลิตจะมีการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาต่ำ ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลทำให้การเติบโตของตลาดพีซีเป็นไปอย่างรวดเร็วนั้น ได้แก่ ความสามารถของเครื่องพีซีที่เพิ่มมากขึ้น การใช้เครื่องพีซีในปัจจุบันไม่จำกัดอยู่กับซอฟต์แวร์ที่ง่ายๆ อย่างเช่น เวิร์ดโปรเซสซึ่งอีกต่อไป มีซอฟต์แวร์ประยุกต์มากมายที่สนับสนุนการทำงานให้มีความนิยมใช้มากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของการทำงานของพีซีเอง เมื่อใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีความซับซ้อน ทำให้สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพความสามารถของไมโครคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ได้หลายระบบ ไม่ว่าจะใช้ในลักษณะที่เป็นเครื่องเดียวหรือติดตั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความสามารถในการใช้สื่อต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันสามารถที่จะผสมผสานสื่อต่างๆ เช่น ภาพ เสียง วิดีโอ ฮาร์ดดิสก์ จอภาพ ทำให้มีการประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น ระบบคอมพิวเตอร์สื่อประสมนับว่าเป็นสิ่งที่ทำให้การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

                กล่าวโดยกสรุป  สื่อประสม (multimedia) หมายถึงการนำสื่อหลาย ๆ อย่างมาใช้ประกอบกันอย่างเป็นระบบ โดยลักษณะของสื่อประสมที่ดีนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อหาหรือตามจุดประสงค์การเรียนรู้  ช่วยส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการตรวจสอบและเคยทดลองใช้มาแล้วมีความสะดวกในการนำไปใช้ และครบตามจำนวนผู้เรียน จากลักษณะที่ดีของสื่อประสมทำให้สื่อประสมมีประโยชน์ในการใช้งานเป็นที่ยอมรับทั่วไป โดยเป็นสื่อที่ส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยตนเอง สามารถเป็นแบบจำลองสถานการณ์ได้ มีภาพประกอบเนื้อหาเพื่อช่วยพัฒนาความเข้าใจและเพิ่มศักยภาพเกี่ยวกับวิธีการคิด ช่วยในการจัดการด้านเวลาในการเรียนได้ดี และมีปริมาณข้อมูลหลากหลายรูปแบบ
เอกสารอ้างอิง
(เว็บ)  [ออนไลน์] : http://www.st.ac.th/av/inno_multimedia.htm.เข้าถึงเมื่อ 11/09/12
(เว็บ)  [ออนไลน์] : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5903.0.เข้าถึงเมื่อ 11/09/12
 (เว็บ)  [ออนไลน์] : http://www.oknation.net/blog/toptop/2008/02/01/entry-13.เข้าถึงเมื่อ 11/09/12

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

7. สื่อการสอน

                สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
               
                สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

                สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำ ความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น
               
                กล่าวโดยสรุป สื่อการสอน คือ สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดีผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
เอกสารอ้างอิง
(เว็บ)  [ออนไลน์] : http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html.เข้าถึงเมื่อ 11/09/12
(เว็บ)  [ออนไลน์] : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=3183.0;wap2.เข้าถึงเมื่อ 11/09/12
 (เว็บ)  [ออนไลน์] : http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=5&group_id=23&article_id=194.เข้าถึงเมื่อ 11/09/12

6. เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการศึกษา

                ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาท ในการพัฒนาในเกือบทุกๆด้าน ไม่ว่าในด้านธุรกิจ ด้านสาธารณสุข ด้านการทหารและความมั่นคง ด้านโทรคมนาคมและการสื่อสาร ดังจะเห็นได้ว่า หน่วยงานธุรกิจส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหาร การจัดการในองค์กร อีกทั้งเพิ่มระดับความสำคัญมากขึ้นในแต่ละปี มีการจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งไว้ เพื่อการจัดการกับข้อมูลสารสนเทศเป็นการเฉพาะ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อวางกลยุทธ์หาความได้เปรียบในตลาดโดยรวม อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิต รวมถึงใช้เป็นช่องทาง สำหรับเผยแพร่สารสนเทศขององค์กรมากขึ้นด้วย
                ในส่วนของการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็มีบทบาทที่สำคัญในส่วนของการเป็นทั้งเครื่องมือหลัก และเครื่องมือสนับสนุนที่ต้องจัดหา และนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เป็นไปตามลักษณะการศึกษา ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ การกำหนดทิศทางและนโยบายการจัดการศึกษาไทย จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการกำหนดคุณสมบัติและคุณภาพของแรงงานในอนาคต ซึ่งเราจะปฎิเสธไม่ได้เลยว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการขนส่ง เทคโนโลยีการผลิต นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ เหล่านี้ล้วนมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องมีการเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในหลักสูตรการเรียนการสอน และปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี จะต้องประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานด้านช่องทางและสื่อ ดังต่อไปนี้
                1.  เทคโนโลยีโทรคมนาคม (E-communication) ที่สำคัญได้แก่ การสื่อสารผ่านดาวเทียม เครือข่ายความถี่การสื่อสาร เครือข่ายเส้นใยแก้วนำแสง เครือข่ายคอมพิวเตอร์
                2. ระบบการสอนผ่านจอภาพ (On -Screen Interactive Instruction) ที่สำคัญได้แก่ การสอนด้วยคอมพิวเตอร์ การสอนด้วยโทรทัศน์ปฏิสัมพันธ์ การสอนด้วยการประชุมทางไกล การสอนด้วยเครือข่ายโลก
                3. ระบบสื่อตามต้องการ (Media On Demand)  เช่น สัญญาณภาพตามต้องการ เสียงตามต้องการ บทเรียนตามต้องการ เป็นต้น
                4. ระบบฐานความรู้ (Knowledge-Based System)  เป็นระบบที่พัฒนาต่อยอดมาจากระบบฐานข้อมูล ซึ่งรวบรวม และจัดเรียงเนื้อหาข้อมูลตามลำดับที่มีกฎเกณฑ์ตายตัวโดยใช้คำไข (Key word) เป็นตัวค้นและตัวเรียกข้อมูล ส่วนฐานความรู้จะจัดข้อมูลไว้หลากหลาย เช่น ตามประเภทของหลักสูตร ตามกลุ่มอายุของผู้ใช้ ตามประเภทของวัตถุประสงค์ของการใช้ เป็นต้น การทำงานของฐานความรู้จะต้องทำงานประสานกันอย่างน้อย 3 ระบบได้แก่ ระบบสื่อสาร ระบบสารสนเทศ และระบบเหตุผล เพื่อให้สามารถค้นหาและเรียกข้อมูล หรือความรู้ที่ตอบสนองตรงกับอายุ ตามความต้องการ หรือวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งานและหากจะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในลักษณะที่ชัดเจนที่สุดนั้น จะอยู่ในรูปลักษณ์ของสื่อต่างๆ ที่รวมเรียกว่า สื่อการศึกษา ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในวงการศึกษาแล้วว่าสื่อการศึกษา โดยเฉพาะสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้กลไกการจัดการศึกษา การเรียนรู้ สามารถส่งผลโดยตรงให้กับผู้เรียนเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว ได้อย่างกว้างขวางและเป็นผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ได้มากที่สุด อาจจะสรุปได้ว่าสื่อการศึกษา สามารถส่งผลต่อการเรียนรู้และการศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้
              1.ด้านคุณภาพการเรียนรู้ สื่อการศึกษาจะสามารถช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น
              2.ในด้านเวลาผู้เรียนผ่านสื่อสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น
              3.การตรึงพฤติกรรมการเรียนรู้ สื่อการศึกษาสามารถสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจได้เป็นอย่างดี
              4.การมีส่วนร่วมการเรียน ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
              5.ความทรงจำต่อสาระเนื้อหา การเรียนรู้จากสื่อการศึกษาจะทำให้ผู้เรียนจำได้นาน เรียนรู้ได้เร็วและดีขึ้น
              6.ความเข้าใจในสาระ ผู้เรียนมีประสบการณ์ความเข้าใจจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม
              7.สื่อการศึกษาสามารถเอาชนะข้อจำกัดต่างๆได้ เช่น
· ทำสิ่งที่ซับซ้อนหรือมีหลากหลายมุมมองให้ดูง่ายขึ้น
· ทำสิ่งที่อยู่ในลักษณะนามธรรมสร้างให้เกิดรูปร่างเป็นรูปธรรม
· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้ดูเร็วขึ้น
· ทำสิ่งที่มีขนาดใหญ่มากให้ลดขนาดหรือย่อขนาดลง
· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
· นำข้อมูลย้อนเวลาจากอดีตนำมาศึกษาเรียนรู้ได้
· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลึกลับมาวิเคราะห์ศึกษาได้

http://thaigoodview.com/node/25772 ได้กล่าวว่า
                เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้
                1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
                2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา   โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ  การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
                3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล  เช่น  การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่นการใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/242734  ได้กล่าวว่า
                ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม  บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา    
                1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้  ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น  ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ระบบมัลติมีเดีย, ระบบวิดีโอออนดีมานด์วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
                2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ  การติดตาม  ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
                3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล  เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  ผู้เรียนกับผู้เรียน  ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร   การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
                ประโยชน์อย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในห้องเรียนแบบเดิม  ก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเรียนรู้ของผู้เรียน  โดยการสนับสนุนให้ผู้เรียน ได้รับการเรียนรู้แบบมีการโต้ตอบ  และเป็นแบบเห็นจริง  อันจะเอื้ออำนวยให้เข้าใจแนวความคิดที่ซับซ้อน และได้รับข้อมูลความรู้อย่างถูกต้องมากกว่าการนั่งฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว  เนื่องจากว่าการศึกษาในหลาย สาขาวิชานั้นต้องการการอบรมที่ให้เห็นเสมือนเป็นการทำงานจริง  คือมีการโต้ตอบ และแสดงผลโดยภาพกราฟิกที่มีคุณภาพดี หรือภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการมีแบบทดสอบ เพื่อวัดความรู้ของตนเอง
                ระบบการเรียนการสอนแบบ e-learning เป็นส่วนหนึ่งของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอาจเป็นได้ ทั้งสื่อแบบ offline, online หรือ web-based หรือแม้แต่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆชนิด เช่นโทรทัศน์,วิทยุ, เทป, ซีดีรอม หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ ที่ต่อเชื่อมกับอินเตอร์เน็ตได้  รวมถึงการติดต่อผ่านระบบดาวเทียม ที่ไม่ได้มีการพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ ทำให้การปรับปรุงแก้ไขทำได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
                ดังนั้น  จึงอาจกล่าวได้ว่า  การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการจัดการศึกษาที่เป็นการศึกษาตลอดชีวิต  นั่นคือ  การจัดการศึกษาในภาพรวมทั้งหมดที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ที่จัดให้แก่บุคคลทุกช่วงอายุตั้งแต่เกิดจนตาย เพื่อมุ่งพัฒนาบุคคลอย่างเต็มศักยภาพให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสมในทุกช่วงชีวิต  


                กล่าวโดยสรุปว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในการศึกษา  คือ เป็นบทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา    
                1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้  ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น  ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ระบบมัลติมีเดีย, ระบบวิดีโอออนดีมานด์วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
                2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ  การติดตาม  ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
                3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล  เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  ผู้เรียนกับผู้เรียน  ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร   การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง
(เว็บ)  [ออนไลน์] : http://mediathailand.blogspot.com/2012/06/blog-post_4877.html.เข้าถึงเมื่อ 11/09/12
(เว็บ)  [ออนไลน์] : http://thaigoodview.com/node/25772.เข้าถึงเมื่อ 11/09/12
 (เว็บ)  [ออนไลน์] : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/242734.เข้าถึงเมื่อ 11/09/12