วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

9 วิธีทำงานกับ "คนที่ไม่ชอบหน้า"


                ก็เข้าใจว่าไม่มีใครเพอร์เฟ็คท์ได้เต็มร้อย แต่ก็มีไม่น้อยที่ต้องฝืนใจทนทำงานกับคนที่เราแสนจะ..เหม็นขี้หน้า แต่ถ้าจะปล่อยให้แต่ละวันเป็นวันแห่งความทรมานใจ ก็เป็นการบั่นทอนกำลังใจเกินไป ลองคิดใหม่ ทำใหม่ ให้ทำงานกันได้ราบรื่นดีกว่าไหม
                1. เปิดใจให้กว้าง ลดความรู้สึกไม่ชอบในใจลงไปสักนิด...แค่นิดเดียวก็จะทำให้คุณฟังเขาพูดได้รื่นหูมากขึ้น
                2. เน้นที่ตัวงานมากกว่าตัวคน เวลาสั่งงานให้เน้นที่งานมากกว่าระบุตัวคุณ เช่นแทนที่เขาจะบอกว่า "คุณต้องส่งงานนี้ที่ฉัน ภายในวันศุกร์" ก็เปลี่ยนเป็น "รายงานชิ้นนี้ต้องส่งนายวันศุกร์นี้ค่ะ"
                3. คุยกันแบบตัวต่อตัวหรือทางโทรศัพท์ สำหรับเรื่องสำคัญ หรือเรื่องที่คิดว่าจะมีปัญหาผิดใจกันได้ง่ายๆ
                4. พูดกันให้สั้น กระชับ ตรงประเด็น ไม่อยากเถียงกันมากขึ้นอธิบายทุกอย่างให้ชัดเจน
                5. ให้เขารู้ผลเสียที่จะตามมา ถ้าเขาทำไม่ดี เช่น บอกว่าถ้าเขาส่งงานไม่ทันเดทไลน์จะเป็นอย่างไร "ถ้าคุณปิดต้นฉบับไม่ทันศุกร์นี้ หนังสือก็จะออกช้านะ"
                6. ถ้ามีประชุม เตรียมพร้อมทุกอย่างในส่วนของตัวเองอย่างดีที่สุด และก็ไม่ต้องตำหนิใครถ้าคนอื่นไม่พร้อม
                7. ถ้ามีเรื่องต้องโต้แย้ง (มั่นใจว่า..มีเถียงแน่ๆ) ให้จดประเด็นที่ต้องพูดเป็นข้อๆ แล้วคุยให้อยู่ในประเด็นนั้นให้ได้
                8. ไม่นินทาฝ่ายตรงข้ามลับหลัง ประเภทว่าปิดกันให้แซด! น่ะ...ถึงเจ้าตัวชัวร์
                9. ใจเย็นๆ ถ้าทำงานกับคนที่ไม่ชอบ...นี่คือคาถาที่สำคัญที่สุด

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

22. ภาคผนวก (Appendix)


                http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้กล่าวว่าสิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
                 พรศรี ศรีอัษฎาพร, ยุวดี วัฒนานนท์ (2529 : 161) ได้กล่าวว่าภาคผนวกอาจมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีสิ่งใดที่มีความสำคัญ และไม่ต้องการให้สื่อความหมายหรือความเข้าใจไปพร้อมกับการอ่านรายงาน ให้นำไปใส่ไว้ในภาคผนวก เช่น แบบสอมถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือตารางบางตาราง
                http://www.med.cmu.ac.th/research/facfund/finalReport.htm  ได้กล่าวว่า
ภาค ผนวกเป็นส่วนที่ผู้เขียนได้นำมากล่าวเพิ่มเติมในรายงานวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจสาระในงานวิจัยมากยิ่งขึ้น ภาคผนวกอาจเป็นรูปข้อความจากเอกสาร อักษรย่อ รายละเอียดบางวิธี สูตรน้ำยาเคมี หรือแผนที่ก็ได้ หน้าแรกของภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม่ และมีคำว่า "ภาคผนวก" (Appendix) อยู่ตรงกลางและตรงกลางบรรทัดบนสุดของหน้าถัดไปให้เขียนคำว่า "ภาคผนวก ก." ถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Appendix A" และหากมีมากกว่า 1 ผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่ทุกครั้งโดยให้ลงหัวเรื่องเรียงตามลำดับอักษร เช่น ผนวก ก. (Appendix A) ผนวก ข. (Appendix B) ผนวก ค. (Appendix C) ในสารบัญให้ลงด้วยรายการของแต่ละผนวกไว้ด้วย โดยเฉพาะหัวเรื่องเท่านั้น
                กล่าวโดยสรุปภาคผนวกคือ ข้อมูลในส่วนที่ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลต่างๆในงานวิจัยเพื่อให้เกิดความเข้า ใจมากขึ้นโดยเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมเสนอในส่วนเนื้อหาหลักแต่นำ มาใส่เอาใว้ในตอนท้ายของรายงานการวิจัยแทน เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล ฯลฯ

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 .เข้าถึงเมื่อ 09/01/13
พรศรี ศรีอัษฎาพร,ยุวดี วัฒนานนท์.2529.สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช.
http://www.med.cmu.ac.th/research/facfund/finalReport.htm.เข้าถึงเมื่อ 09/01/13

21. เอกสารอ้างอิง (References)


                http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้กล่าวว่าตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style
                 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-1  ได้กล่าวถึงเอกสารอ้างอิง (References)ไว้ว่าในวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่อง จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย)
                วัลลภ ลำพาย (2547 : 178) ได้กล่าวไว้ว่า ส่วนนี้เป็นส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้น จัดลำดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง ซึ่งถ้าเป็นภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น แต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย จัดลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศ
                กล่าวโดยสรุปเอกสารอ้างอิง (References)ในวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่อง จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 .เข้าถึงเมื่อ 09/01/13
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-1.เข้าถึงเมื่อ 09/01/13
วัลลภ ลำพาย. (2547). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.

20. งบประมาณ (Budget)

                http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้กล่าวว่าการกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อ การวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
                1 เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
                2 ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
                3 ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
                4 ค่าครุภัณฑ์
                5 ค่าประมวลผลข้อมูล
                6 ค่าพิมพ์รายงาน
                7 ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบโครงการแล้ว
                8 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
                อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณ แตกต่างกัน  ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการ ขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย  เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก


                อรชร  โพธิ ( 2545, หน้า 157210 ) ได้กล่าวไว้ว่า  งบประมาณ  หมายถึงระบบการวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินสำหรับการดำเนิน ธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์  เป้าหมาย  และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การ    การจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร  และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามแผนนั้น ๆ
                 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-1  ได้รวบรวมและกล่าวถึงงบประมาณ (Budget)ไว้ว่า การคิดงบประมาณ ควรยึดแผนการดำเนินงาน และตารางปฏิบัติงาน เป็นหลัก โดยวิเคราะห์ ในแต่ละกิจกรรมย่อย ว่าต้องการทรัพยากร อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ต้องการตอนไหน ซึ่งตามปกติแล้ว ควรแจกแจง ในรายละเอียด อย่างสมเหตุสมผล กับเรื่องที่จะ ทำวิจัย และควร แยกออกเป็น หมวด ๆ
ก. หมวดบุคลากร โดยระบุว่า ต้องการบุคลากร ประเภทไหน มีคุณวุฒิ หรือความสามารถ อะไร จำนวนเท่าไร จะจ้าง ในอัตราเท่าไร เป็นระยะเวลาเท่าไร
ข. หมวดค่าใช้สอย เป็นรายจ่าย เพื่อให้ได้มา ซึ่งบริการใด ๆ เช่น ค่าสื่อสาร ค่าธรรมเนียม ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น เป็นต้น
ค. หมวดค่าวัสดุ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อสิ่งของ ซึ่งโดยสภาพ ย่อมสิ้นเปลือง เปลี่ยน หรือสลายตัว ในระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งสิ่งของ ที่ซื้อมา เพื่อการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม ทรัพย์สิน เช่น ค่าสารเคมี ค่าเครื่องเขียน และแบบพิมพ์ ค่าเครื่องแก้ว และอุปกรณ์ไม่ถาวร ฟิลม์ อ๊อกซิเจน เป็นต้น
ง. หมวดค่าครุภัณฑ์ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อของ ซึ่งตามปกติ มีลักษณะ คงทนถาวร มีอายุการใช้ยืนนาน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว มีบางแหล่งทุน ไม่อนุญาต ให้ใช้หมวดนี้ นอกจาก มีความจำเป็นจริง ๆ ซึ่งต้องเสนอ ให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป
การคิดงบประมาณ ต้องพิจารณาเงื่อนไข ของแต่ละแหล่งทุน ว่ามีระเบียบ ในเรื่องนี้ อย่างไรบ้าง เพราะแหล่งทุน แต่ละแห่ง มักจะมีระเบียบต่าง ๆ กัน
                กล่าวโดยสรุปการกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ (คณะกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว  ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย) ได้แก่
                1) เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
                2) ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
                3) ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
                4) ค่าครุภัณฑ์
                5) ค่าประมวลผลข้อมูล
                6) ค่าพิมพ์รายงาน
                7) ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบโครงการแล้ว
                8) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 .เข้าถึงเมื่อ 09/01/13
อรชร  โพธิสุข.(2545). เอกสารการสอนการบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-1.เข้าถึงเมื่อ 09/01/13

19. การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule)

                http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-1  ได้รวบรวมและกล่าวถึงการบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule)ไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation)
ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสริจสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
                1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
                2. กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
                    - ขั้นเตรียมการ (Preparatory Phase)
                    - ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
                    - ติดต่อผู้นำชุมชน
                    - การเตรียมชุมชน
                    - การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
                    - การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
                    - การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
                    - การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
                    - การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
                    - ขั้นปฏิบัติงาน (Implementation Phase)
                    - ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
                    - ขั้นการเขียนรายงาน
      3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
      4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล
สำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
                   ก. การจัดองค์กร (Organizing) เช่น การกำหนดหน้าที่ ของคณะผู้ร่วมวิจัย แต่ละคน ให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหา และการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
                   ข. การสั่งงาน (Directing) ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม (control) เป็นต้น
                   ค. การควบคุมการจัดองค์กร (Organization Control) นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการ สั่งการ และควบคุม ภาพของงานต่อไป โดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการ (chain of command) เพื่อวางโครงสร้าง ของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ ตลอดจนติดตามประเมินผล ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และ/หรือ ทำเป็นแผนภูมิเคลื่อนที่  (flow chart) 
                   ง. การควบคุมโครงการ (Project Control) มีได้หลายวิธี เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงาน (time schedule) ซึ่งเป็น ตารางกำหนด ระยะเวลา ในการปฏิบัติงาน ของแต่ละกิจกรรม เพื่อช่วยให้ การควบคุม เวลา และแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ ผู้วิจัย ทำเสร็จทันเวลา ซึ่งปกติจะใช้ Gantt’s chart Gantt’s chart จะดูความสัมพันธ์ ระหว่างกิจกรรม ที่จะปฏิบัติ และระยะเวลา ของแต่ละกิจกรรม โดยแนวนอน จะเป็น ระยะเวลา ที่ใช้ ของแต่ละ กิจกรรม ส่วนแนวตั้ง จะเป็น กิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ กำหนดไว้ จากนั้น จึงใช้ แผนภูมิแท่ง (bar chart) ในการแสดง ความสัมพันธ์นี้
นอกจาก Gantt’s chart แล้ว ยังอาจทำเป็น โครงข่ายปฏิบัติงาน (Network technique) ซึ่งเป็นการ แสดงเหตุการณ์ (event), กิจกรรม (activities) และเวลา (time) ให้เห็น เป็นโครงข่ายงาน ว่าต้องการ ให้เกิดอะไร จะทำอะไรก่อน หลัง โดยใช้ระยะเวลา เท่าไร ตัวอย่างเช่น
                       - PERT (Program Evaluation and Review Technique)
                       - CPM (Critical Path Method)
                       - PPBS (Program Planning Budgeting System)
                       - ABC (Analysis Bar Chart)
                  จ. การนิเทศงาน (Supervising) ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไข ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของการควบคุมงาน ให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง
                สนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้กล่าวไว้ว่า  การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
                 พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545 : 728) การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง

                กล่าวโดยสรุปการ บริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

เอกสารอ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-1.เข้าถึงเมื่อ 09/01/13
เสนาะ ติเยาว์.(2544).หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว.(2545). ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม.พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.

18. อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข

                สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2538:6)ได้กล่าวไว้ว่า อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                       1) ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คนสามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
                       2) ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
                       3) มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
                       4) นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
                       5) ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
                แนวทางการแก้ไข
                       1) กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
                       2) สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
                       3) ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
                       4) ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
                       5) มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง
                http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-1  ได้รวบรวมและกล่าวถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระห่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข ไว้ว่า ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลักเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่หมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้ กรณีดังกล่าว นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการในการแก้ไข อุปสรรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อย่าให้ "ความเป็นไปได้" (feasibility) มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้ ยกตัวอย่าง เช่น ต้องการประเมินผล ของโครงการหนึ่ง ซึ่งในแง่รูปแบบ การวิจัยที่เหมาะสมแล้ว ควรใช้ "การวิจัยเชิงทดลองแบบเต็มรูป" (full experimental design) หรือการวิจัยเชิงทดลองที่แท้จริง (true experimental design) หรือ การวิจัยเชิงทดลองแบบคลาสสิค ซึ่งมีการกำหนด (assign) ให้ตัวอย่าง (sample) ไปอยู่กลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุมโดยวิธีสุ่ม แต่บังเอิญ ในทางปฏิบัติ ทำไม่ได้ เนื่องจากปัญหาทางจริยธรรม ก็อาจจำเป็นต้อง ใช้รูปแบบการวิจัย แบบกึ่งกลางการทดลอง (quas-experimetal design) โดยอาจจะ วัดก่นอ ละหลัง การมีโครงการนี้ (before and after) หรือการออกแบบ การติดตามระยะยาว (time series design) โดยมีการวัดหลาย ๆ ครั้ง ทั้งก่อน และหลัง มีโครงการนี้หรือในการวิจัย เพื่อประเมินประสิทธิผลของยา ผู้วิจัย พยายามจะคิดค้น หามาตรการที่จะ ทำให้ทั้งคนไข้ และผู้รักษา ไม่ทราบว่า ได้รับยาอะไร ที่เรียกว่า "วิธีบอด" (double blind) เช่น การทำให้ยา เหมือนกันทุกประการ แต่ในทางปฏิบัติ บางครั้งทำไม่ได้ ผู้วิจัย จำเป็นต้องระบุ ถึงข้อจำกัดนี้ และเสนอมาตรการ ในการแก้ไข โดยเลือกตัววัด ที่เป็นปรนัย (objective outcome) ซึ่งมีความผันแปรน้อยกว่า ตัววัดที่ได้ จากการบอกเล่า (subjective outcome) และใช้ผู้วัด ที่เป็นอิสระ (independent assessor) ซึ่งไม่เกี่ยวข้อง กับการดูแล รักษาคนไข้ และไม่ทราบว่า คนไข้ อยู่ในกลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุม โดยมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ หวังว่าจะสามารถ ป้องกันอคติ อันอาจจะเกิดขึ้นจาก co-intervention ไปได้ระดับหนึ่ง
                 ภิรมย์ กมลรัตนกุล  (2531 : 8)  กล่าวว่า การ ทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัยระเบียบ วิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้
          แนวทางการแก้ไข นัก วิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้

                กล่าวโดยสรุปอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระห่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข สรุปได้ ดังนี้
                       1) ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คน
สามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
                       2) ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
                       3) มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
                       4) นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
                       5) ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
                แนวทางการแก้ไข
                       1) กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
                      2) สนับ สนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
                      3) ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
                      4) ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
                      5) มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง

เอกสารอ้างอิง
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม.(2538).หลักการ แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน.เส้นทางสู้การวิจัยในชั้นเรียน.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ บริษัท บพิธการพิมพ์.
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-1.เข้าถึงเมื่อ 09/01/13
ภิรมย์ กมลรัตนกุล.(2531).หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์หอสมุดกลาง.

17. ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits & Application)


                 http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้กล่าวว่า  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย(expected benefits and application)  อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง
                http://rforvcd.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89/ ได้กล่าวว่าอธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้านผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้นส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง  (คณะกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว  ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย)

                 http://sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit1/content12.html  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เป็น การเขียนเกี่ยวกับความสำคัญที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยว่ามีอะไรบ้าง โดยการคาดคะเนในแง่ของความรู้และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์หรือใช้ในการ แก้ปัญหา ซึ่งจะต้องเขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านมองเห็นขอบเขตของการทำวิจัยอย่างชัดเจน
                กล่าวโดยสรุปผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits & Application) อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.เข้าถึงเมื่อ 09/01/13
http://sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit1/content12.html.เข้าถึงเมื่อ 09/01/13