วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

22. ภาคผนวก (Appendix)


                http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้กล่าวว่าสิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
                 พรศรี ศรีอัษฎาพร, ยุวดี วัฒนานนท์ (2529 : 161) ได้กล่าวว่าภาคผนวกอาจมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีสิ่งใดที่มีความสำคัญ และไม่ต้องการให้สื่อความหมายหรือความเข้าใจไปพร้อมกับการอ่านรายงาน ให้นำไปใส่ไว้ในภาคผนวก เช่น แบบสอมถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือตารางบางตาราง
                http://www.med.cmu.ac.th/research/facfund/finalReport.htm  ได้กล่าวว่า
ภาค ผนวกเป็นส่วนที่ผู้เขียนได้นำมากล่าวเพิ่มเติมในรายงานวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจสาระในงานวิจัยมากยิ่งขึ้น ภาคผนวกอาจเป็นรูปข้อความจากเอกสาร อักษรย่อ รายละเอียดบางวิธี สูตรน้ำยาเคมี หรือแผนที่ก็ได้ หน้าแรกของภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม่ และมีคำว่า "ภาคผนวก" (Appendix) อยู่ตรงกลางและตรงกลางบรรทัดบนสุดของหน้าถัดไปให้เขียนคำว่า "ภาคผนวก ก." ถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Appendix A" และหากมีมากกว่า 1 ผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่ทุกครั้งโดยให้ลงหัวเรื่องเรียงตามลำดับอักษร เช่น ผนวก ก. (Appendix A) ผนวก ข. (Appendix B) ผนวก ค. (Appendix C) ในสารบัญให้ลงด้วยรายการของแต่ละผนวกไว้ด้วย โดยเฉพาะหัวเรื่องเท่านั้น
                กล่าวโดยสรุปภาคผนวกคือ ข้อมูลในส่วนที่ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลต่างๆในงานวิจัยเพื่อให้เกิดความเข้า ใจมากขึ้นโดยเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมเสนอในส่วนเนื้อหาหลักแต่นำ มาใส่เอาใว้ในตอนท้ายของรายงานการวิจัยแทน เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล ฯลฯ

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 .เข้าถึงเมื่อ 09/01/13
พรศรี ศรีอัษฎาพร,ยุวดี วัฒนานนท์.2529.สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช.
http://www.med.cmu.ac.th/research/facfund/finalReport.htm.เข้าถึงเมื่อ 09/01/13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น