วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

8. ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption)

                 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-1  ได้กล่าวว่าข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption)ไว้ว่าการวิจัยบางเรื่อง อาจมีข้อจำกัดหลายอย่างในทางปฏิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องตั้งข้อสมมติบางอย่าง เป็นข้อตกลงเบื้องต้นขึ้น เช่น ผู้วิจัยจะเข้าไปสัมภาษณ์ คนงานในโรงงานแห่งหนึ่ง อาจจำเป็นต้อง กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า "คนงานที่มาทำงาน ในวันที่ผู้วิจัยเข้าไปสำรวจ ไม่ต่างไปจาก คนงานที่มาทำงาน ในวันปกติอื่น ๆ" อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องระวัง อย่าให้ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นตัวทำลายความถูกต้องของงานวิจัย
                http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm ได้กล่าวว่า  ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมี ความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ เช่น การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า “คำตอบของกลุ่มตัวอย่างนั้น ถือว่าเป็นคำตอบที่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริงเป็นต้น เพราะถ้าไม่เชื่อว่ากลุ่มตัวอย่างจะตอบตรงความคิดหรือความรู้สึกที่เป็นจริง แล้ว ข้อมูลที่ได้จะขาดความตรง ผลการวิจัยก็จะไม่เกิดประโยชน์

http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm   ได้กล่าวว่า  การเขียนข้อตกลงเบื้องต้นนั้น ผู้วิจัยจะต้องถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญ และชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาของงานวิจัยที่เป็นความจริง เป็นพื้นฐานความเชื่อเบื้องต้น และเป็นที่ยอมรับกัน และไม่ต้องการพิสูจน์ โดยอาศัยการใช้หลักฐาน และการยืนยันจากข้อมูลเบื้องต้น หรือทฤษฎี ข้อตกลงเบื้องต้นนั้น มักต้องอาศัยข้อเท็จจริง ความเชื่อ ทฤษฎี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ข้อผิดพลาดที่บังเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เป็นต้นว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีความเหมือน ๆ กันด้านใดบ้าง หรือแตกต่างอย่างไรบ้าง แล้วตกลง หรือวางเงื่อนไขตามความเป็นจริงไว้เสียก่อน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรระลึกถึงคือ ไม่ควรตกลงเกินขอบเขตที่ควรจะตกลงได้ เช่น ตกลงไว้ก่อนว่า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีความเชื่อถือได้โดยปกติ แล้วการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นนั้น อาจใช้แนวทางการอ้างอิงไว้ในข้อตกลงเบื้องต้นด้วยคือ

                1. ความมีเหตุผล                                                             
                2. หลักฐานข้อเท็จจริง
                3. แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

ในการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นที่น่าเชื่อถือได้นั้น ก็ควรจะชี้แจงให้เหตุผลอยู่ในตัวของมันเอง อย่างน้อยหนึ่งใน 3 อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นข้อตกลงที่เชื่อถือไม่ได้
แนวทางการดำเนินการวิจัย

กล่าวโดยสรุปข้อตกลงเบื้องต้น (assumptions)  เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมี ความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ  ข้อตกลงเบื้องต้นนั้น มักต้องอาศัยข้อเท็จจริง ความเชื่อ ทฤษฎี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ข้อผิดพลาดที่บังเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เป็นต้นว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีความเหมือน ๆ กันด้านใดบ้าง หรือแตกต่างอย่างไรบ้าง แล้วตกลง หรือวางเงื่อนไขตามความเป็นจริงไว้เสียก่อน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรระลึกถึงคือ ไม่ควรตกลงเกินขอบเขตที่ควรจะตกลงได้ เช่น ตกลงไว้ก่อนว่า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีความเชื่อถือได้โดยปกติ


เอกสารอ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-1.เข้าถึงเมื่อ 09/01/13
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm .เข้าถึงเมื่อ 09/01/13
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm.เข้าถึงเมื่อ 09/01/13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น