http://www.gotoknow.org/posts/261202? ได้กล่าวว่า การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบ โดยกระบวนการวิจัย
http://rforvcd.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B1/ ได้กล่าวว่าอาจเรียกแตกต่างกัน เช่น ความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหา หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา อย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไรการเขียนความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหาการวิจัยต้องเขียนให้หนักแน่น มีเหตุผลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ ชี้ประเด็นให้เห็นความสำคัญของการวิจัยอย่างแท้จริง กรณีที่เป็นศิลปนิพนธ์ให้อธิบายเหตุผลที่เลือกทำศิลปนิพนธ์เรื่องนี้ โดยอ้างทฤษฎีรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องปัญหาที่ต้องการทราบและความสำคัญ หรือประโยชน์ของการทำศิลปนิพนธ์เรื่องนี้มาสนับสนุนเหตุผล ควรเขียนให้กระชับและให้ความชัดเจน จากเนื้อหาในมุมกว้างแล้วเข้าสู่ปัญหาของศิลปนิพนธ์ที่ทำ เพื่อให้สามารถโน้มน้าวให้ผู้อ่านหรือผู้อนุมัติโครงการวิจัยคล้อยตามว่าถ้า หากวิจัยแล้วจะเกิดคุณประโยชน์อย่างไร แล้วสรุปเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์การวิจัย (คณะกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย, คู่มือศิลปนิพนธ์สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์. 2554 : 25)
กล่าวโดยสรุป วิธีการเขียนความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา อย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.เข้าถึงเมื่อ 09/01/13
http://www.gotoknow.org/posts/261202?.เข้าถึงเมื่อ 09/01/13
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น